10 อันดับโรคเกี่ยวกับเท้า ที่ไม่ควรมองข้าม

10-อันดับโรคเกี่ยวกับเท้า-ที่ไม่ควรมองข้าม

อวัยวะภายในร่างกายของเราทุกส่วนถูกสร้างมาเพื่อตอบสนองการใช้งานทั้งเบาและหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เท้า” หนึ่งในอวัยวะที่เรียกได้ว่าทำงานหนักเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการที่จะพาเราเดินไปไหนได้ไกลและนาน รวมถึงการแบกรับน้ำหนักของร่างกาย แต่หากวันหนึ่งเท้าของเราเกิดทำงานผิดปกติขึ้นมาแล้วล่ะก็ ลำบากเลยนะคะ เพราะฉะนั้น เราควรป้องกันและรู้ให้ทันความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับเท้าของเรา กับ 10 อันดับโรคเกี่ยวกับเท้า ที่ไม่ควรมองข้าม

1. โรคเชื้อราที่เท้า (Athlete’s Foot)
หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “ฮ่องกงฟุต, น้ำกัดเท้า” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น โรคนี้สามารถติดกันได้จากการใช้ข้าวของเครื่องใช้ร่วมกัน
อาการ : อาการในระยะแรกจะมีลักษะเปื่อย แดง และลอก เนื่องจากเกิดการระคายเคือง แต่หากคันและเกา อาการจะลุกลามจนเกิดการติดเชื้อ ทำให้มีอาการแสบร้อน เป็นหนอง เป็นขุยสีขาว และเท้ามีกลิ่นเหม็นได้
การป้องกันและรักษา :  หลีกเลี่ยงการยืนแช่น้ำนาน ๆ หากเลี่ยงไม่ได้ ควรล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดเท้าให้แห้ง โรยแป้งที่เท้าเพื่อไม่ให้เท้าเปียกชื้น

2. โรคเอ็นฝ่าฝ่าเท้าอักเสบ
ชื่อเล่นของโรคนี้คือ “รองช้ำ” เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเพศหญิง
อาการ : เจ็บส้นเท้า และมักจะเป็นมากในตอนเช้าเมื่อลุกจากเตียง โดยอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งจะรุนแรงขึ้นตามลักษณะการใช้งาน
การป้องกันและรักษา : สิ่งสำคัญคือการพักเท้า คือ หยุดหรือลดการเดิน ประคบความเย็น 3-4 ครั้ง/วัน ออกกำลังกายเพื่อบริหารเอ็นร้อยหวาย

3. โรคเท้าเหม็น (Stinky Feet)
บางคนก็เรียกว่า โรคเท้าเหม็นเป็นรู ซึ่งจะเจอในช่วงที่ใส่ถุงเท้าและรองเท้าเป็นเวลานานและมีเหงื่อออกที่เท้าติดต่อกัน และเริ่มมีกลิ่นเหม็น เกิดจากการสั่งสมของแบคทีเรีย
อาการ
: ฝ่าเท้าเป็นรูเล็ก ๆ หรือถลอกเป็นปื้น ร่วมกับเท้ามีกลิ่นเหม็น
การป้องกันและรักษา : โดยทั่วไปจะใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดทาผิวหนัง 2-4 สัปดาห์ นอกจากนี้ ควรล้างเท้าที่ผสมยาฆ่าเชื้อและเช็ดให้แห้ง ไม่สวมรองเท้าหรือถุงเท้าซ้ำเป็นเวลานาน ๆ

 4. โรคตาปลา (Corns)
ผิวหนังเกิดการแข็งตัวเป็นตุ่มหนา โดยมักจะเกิดขึ้นด้านบนและด้านข้างของนิ้วเท้าหรือบนฝ่าเท้า แต่ก็สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการสวมใส่รองเท้าไม่พอดี การเสียดสีของเท้า
อาการ
: มีตุ่มหนา แข็งที่ผิวหนัง กดเจ็บ โดยตุ่มจะแห้งเป็นขุย เป็นวงสีเหลืองรอบ ๆ ตรงกลางที่แข็งจะเป็นสีเทา
การป้องกันและรักษา
: หลีกเลี่ยงพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกดหรือการเสียดสี สวมใส่รองเท้าให้พอดี ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการรักษาโดยเฉพาะ

5. เล็บขบ
ภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปบริเวณผิวหนังปลายเล็บ เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด บวม แดง
อาการ : กดเจ็บที่นิ้วเท้า มีรอยแดงและบวมรอบ ๆ นิ้วเท้า มีเลือดออก เป็นหนองที่เท้า
การป้องกันและรักษา : แช่เท้าในน้ำอุ่น 3-4 ครั้ง/วัน ครั้งละ 15-20 นาที ใช้ยาบรรเทาอาการปวด หากมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

6. โรคเท้าแบน (Flat Feet)
เป็นลักษณะเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้า และเมื่อยืนเท้าจะแนบสนิทไปกับพื้น ซึ่งเท้าแบนนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็กและอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ
อาการ : รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมใส่รองเท้าที่สบายและรองรับเท้า ทรงตัวบนเท้าลำบาก
การป้องกันและรักษา : ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีอาการเจ็บปวด หรือใช้วิธีบำบัดทางกายภาพ เช่น ใช้อุปกรณ์เสริมที่เท้า สวมรองเท้าที่รับกับเท้า ออกกำลังยืดเส้น หรือสั่งตัดรองเท้าสุขภาพ

7. หูดที่เท้า
เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย
อาการ : มีลักษณะเป็นปื้นหนา แข็ง ฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนลงน้ำหนักจะรู้สึกเจ็บ
การป้องกันและรักษา : ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค

 8. ส้นเท้าแตก
อาการที่ผิวหนังบริเวณส้นเท้าแห้ง แข็ง หยาบ แตกและแยกออกเป็นแผ่น ๆ โดยมากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อากาศแห้ง ดื่มน้ำน้อย สบู่ทำให้ผิวแห้ง ฯลฯ
การป้องกันและรักษา : ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ แต่หากมีอาการแดงและเจ็บปวดมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อและรีบรักษา

9. นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป (Hallux varus)
การที่นิ้วหัวเเม่เท้าเอียงเข้าหานิ้วชี้มากเกินไป จนทำให้กระดูกนิ้วโป้งเท้านูนออกมา เวลาเดินหรือใส่รองเท้าก็จะรู้สึกเจ็บมีสาเหตุ ซึ่งเกิดจากโครงสร้างเท้าที่ผิดปกติซึ่งมักเป็นพันธุกรรม เช่น เท้าแบน หรือกระดูกนิ้วหัวแม่เท้ามีการเอียงออกเอง
อาการ : โคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านนอกปูด บวม แดง รู้สึกปวดเท้าเป็นพัก ๆ
การป้องกันและรักษา
: เลือกรองเท้าที่หัวกว้างหรือไม่บีบรัดจนเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดอาการหรือปัญหาที่รุนแรง

10. เท้าบวม
อาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่เท้าไปจนถึงข้อเท้า ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ
อาการ : เท้าหรือข้อเท้า เมื่อสัมผัสบริเวณเท้าจะรู้สึกนิ่มกว่าปกติ ถ้าใช้นิ้วกดจะบุ๋มลงไป คืนสภาพอย่างช้า ๆ
การป้องกันและรักษา : ยกขาให้สูงขึ้นขณะนอนหงาย ยืดเหยียดขาบ่อย ๆ ลดปริมาณการทานเกลือลง และหากอาการบวมเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา

ทุกโรคและอาการข้างต้นนี้สามารถป้องกันและบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นได้หากเราเอาใจใส่ ดูแลสุขภาพเท้าของเราอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ

“สุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่เท้า”

สอบถามรายละเอียดโปรโมชั่น

แอดLine@ ของ Talon ได้ที่นี่เลยค่ะ 👉 https://line.me/R/ti/p/%40ool5177g .

❣️ชมสินค้า ทดลองสวมใส่ พร้อมรับบริการ ตรวจสุขภาพเท้าโดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงงาน ใกล้ Central พระราม 2 หรือช็อบบน ICON SIAM ในห้าง Siam Takashimaya ชั้น 2 แผนกรองเท้าสุขภาพ .

❣️เลือกดูสินค้าใหม่ก่อนใครได้ที่ คลิกเลย https://www.instagram.com/talonshoe/ .

foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800 หมอ เฟิส สิทธิพงษ์ Pod Med , Adv clinical pod เลือกแบบสินค้าอีกมากมายได้ที่

www.shoerus.com www.talon.co.th