เพื่อนๆหลายคนเคยเจอปัญหานี้กันมั้ย มองหารองเท้าสุขภาพตามร้านค้าทั่วไปก็ได้รองเท้าที่ไม่เหมาะกับสรีระของเท้าตัวเองสักที วันนี้จะพาไปอ่านบทความที่รวบรวมวิธีเลือกรองเท้าสุขภาพที่ถูกต้องหรือวิธีที่เลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าของเราอย่างไร ยังทราบมาว่าหลายท่านเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพแต่มักจะหารองเท้าสุขภาพที่ราคาไม่แพงไม่ค่อยเจอใช่หรือไม่ค่ะ หรือไปเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพที่ใส่แล้วไม่ค่อยสบายหรือปวดเท้า ปวดส้นเท้า หลายท่านจำเป็นต้องใส่รองเท้าตลอดเวลา ถ้าเดินเท้าเปล่าจะมีอาการปวดหรือแม้กระทั่งคนที่ปวดหลัง ปวดหัวเข่า รองเท้าก็มีผลกับอาการเหล่านี้ด้วยนะคะ
วันนี้ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลวิธีการเลือกดูรองเท้าว่าจะต้องเลือกรองเท้าสุขภาพอะไรบ้าง มีหลักการให้เลือกอยู่กี่ข้อ และจะมาเฉลยด้วยว่าลักษณะของรองเท้าสุขภาพที่ดีเป็นอย่างไร คนไข้ที่เป็นรองช้ำ หรือ เบาหวานส่วนใหญ่ การรับความรู้สึกบริเวณเท้าจะไม่ดีเท่าคนทั่วไป ดังนั้นการใส่รองเท้าสุขภาพจะช่วยป้องกันเกิดแผลที่เท้าได้ หากเราปล่อยให้คนไข้ที่เป็นเบาหวานและมีแผลที่เท้าเดินเท้าเปล่า โอกาสที่จะเกิดแผลมากขึ้นและจะทำให้โอกาสที่จะเกิดแผลอาจจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง จนคนไข้เบาหวานต้องตัดเท้าเพราะใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับสรีระก็เกิดขึ้นมาแล้วนะคะ
วิธีการเลือกใส่รองเท้าสุขภาพ
ข้อที่ 1 รองเท้าควรเปิดปลายเท้าเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเนื่องจากหากมีที่ปิดหุ้มตรงปลายเท้า ถึงแม้จะใส่ได้แต่ก็ต้องดูขนาดของปลายเท้าด้วยว่ามีช่องว่างระหว่างปลายนิ้วเท้ากับรองเท้าหรือไม่ แต่แนะนำว่าหากเราจะใส่รองเท้าปลายปิด ไม่ควรให้บีบรัดแน่นปลายเท้ามากจนเกินไป โดยต้องสามารถปรับขนาดรองเท้าให้เหมาะสมกับขนาดของปลายเท้าได้ยิ่งดีมาก หรือจะมีสายปรับหรือสายยืดเพื่อความสะดวกให้คนไข้
ข้อที่ 2 ตรงกลางของรองเท้าสามารถปรับขนาดรองเท้าให้เหมาะสมกับขนาดของข้อเท้าได้ในกรณีที่คนที่เป็นเบาหวานบางท่าน เริ่มมีอาการบวมของเท้า เราก็จะสามารถปรับสายเข้ากับข้อเท้าได้ หากมีอาการบวมก็สามารถเลื่อนออกปรับไม่ให้แน่นเกินไปนั่นเอง
ข้อที่ 3 รองเท้าสุขภาพที่ดีควรมีสายรัดส้นเท้าเพื่อป้องกันรองเท้าเลื่อนหลุดเพราะว่าถ้าเป็นรองเท้าที่เปิดส้นเวลาที่เราใส่ไปนั้น อาจจะมีการเลื่อนหลุดของรองเท้าได้ บางเคสมีการใส่ไปแล้วรองเท้าหลุด โดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีอาการชาเท้าไม่รู้ตัว อาจจะต้องไปปรับแก้ ดังนั้นรองเท้าที่ดีควรจะมีสายรัดส้นจะช่วยได้ดีนั่นเอง
ข้อที่ 4 คืออากาศถ่ายเทได้ดีป้องกันการอับชื้นของเท้าได้แน่นอน หรือเป็นรองเท้าลักษณะ jungle ก็จะช่วยให้การถ่ายเทของอากาศดียิ่งขึ้นมันจะสามารถทำให้เท้าของเราไม่อับชื้น ลักษณะโดยรวมของรองเท้าต้องเป็นรูปแบบ open
ข้อที่ 5 ในส่วนของพื้นรองเท้านั้นต้องมีลักษณะนิ่มโดยคำว่านิ่มในที่นี้เราจะกำหนดไว้ในระดับที่ 15 องศาชอว์ ของตัวล็อคจะมีความนิ่มอยู่ 15 องศาชอว์ ซึ่งถือว่าใช้ได้ สำหรับการทดสอบความนิ่มของรองเท้าสุขภาพ คนไข้สามารถใช้นิ้วกดลงไปที่พื้นรองเท้าและปล่อย จะเกิดการคืนกลับของเนื้อโฟม หากเรากดแล้วไม่นิ่ม ไม่เกิดการคืนกลับของเม็ดโฟม ความนิ่มของรองเท้าคู่นั่นอาจจะยังไม่ดีนักนั่นเอง
ข้อที่ 6 ต่อไปคือในส่วนของด้านในของรองเท้าหากเป็นรองเท้าสุขภาพหลายท่านจะพบว่าส่วนของตรงกลางเท้าจะมีปุ่มรองรับที่โค้งของเท้านั่นเองอาจจะไม่มากหรือไม่ ต้องแนะนำว่าหาตัวรองเสริมเพื่อให้รับกับโค้งของเท้าของเรานั่นเองและสำหรับใครที่มีฝ่าเท้าแบนอาจจะต้องลดปุ่มลงมาเพื่อช่วยกระชับการสวมใส่ไม่ให้ปวดเท้านั่นเอง
ข้อที่ 7 สำหรับบริเวณส้นเท้ากับหน้าเท้าของรองเท้า ในส่วนของส้นเท้าควรจะต้องสูงกว่าปลายเท้าเล็กน้อย ช่วยลดอาการปวดที่น่อง ควรจะมีความสูงหรือหนาของรองเท้าขึ้นมาระดับประมาณ 1 นิ้วและจำเป็นต้องสูงกว่าบริเวณด้านหน้ารองเท้า
ข้อที่ 8 ในส่วนของพื้นด้านนอกของรองเท้านั้นควรมีที่ยึดจับเกาะกับพื้นได้ดีไม่ลื่นไหลเพราะหากว่าเราใส่รองเท้าสุขภาพและมีความลื่นก็เรียกว่าไม่ตอบโจทย์ไม่ปลอดภัยนั่นเอง โดยทดลองสวมใส่ลักษณะพื้นรองเท้าสามารถช่วยหยุดเดินกะทันหันได้ดีหรือไม่
เกล็ดความรู้เพิ่มเติม
ในการเลือกซื้อรองเท้าหลายคนไม่ทราบว่าควรจะไปเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเวลาตอนเย็น เนื่องจากช่วงเย็นนั้น เท้าของเรานั้นจะมีอาการบวมขยายอย่างเต็มที่ หลังจากที่เดินมาตลอดทั้งวัน หลังเรานำไปใช้ไปใส่รองเท้าก็จะมีลักษณะใหญ่ขยายขึ้นสำหรับในกรณีที่สั่งออนไลน์สามารถที่วัดเท้าได้ในเวลาตอนเย็นเราก็จะได้รู้ขนาดของเท้าของเรารอบเท้าของเราได้ดีและถูกต้องแม่นยำ
สำหรับอีกปัญหาหนึ่ง ของผู้ที่เลือกหารองเท้าสุขภาพมาใส่ไม่ได้นั้นก็คือ เรื่องของแฟชั่นของรองเท้า เนื่องจากไม่ได้ถูกตาถูกใจนัก ดังนั้น เวลาที่เราไปเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพหากเน้นดีไซน์ที่สวยงามก็มักจะมีราคาที่สูง จึงเป็นเรื่องธรรมดาถ้าหากรองเท้าสุขภาพจะมีราคาที่ค่อนข้างแพง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการเลือกซื้อรองเท้าสุขภาพในวันนี้ เรียกได้ว่าอัดแน่นความรู้วิธีเลือกรองเท้าสุขภาพเบื้องต้น หวังว่าทุกท่านจะนำความรู้นี้ไปปรับใช้ในการเลือกรองเท้าสุขภาพกันนะคะ