เท้าแม้จะเป็นอวัยวะที่อยู่ต่ำสุดแต่ใช่ว่าจะละเลยได้ เพราะทุกการเคลื่อนไหวเท้าต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายทั้งหมด แน่นอนคุณจะต้องดูแลรักษาสุขภาพของเท้าให้แข็งแรง เพื่อให้การเดินมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นควรหมั่นดูแล สังเกตความผิดปกติเพื่อจะได้รักษาทันด้วย 8 โรคเกี่ยวกับเท้า ดังต่อไปนี้
ไม่อยากป่วยเรื้อรังต้องสังเกตจาก 8 โรคเกี่ยวกับเท้า รักษาและมีอาการอย่างไร
โรคเกี่ยวกับเท้า เกิดขึ้นได้กับทุกคน อยู่ที่ว่าคุณจะรีบรักษาทันทีหรือไม่เมื่อรู้อาการ ฉะนั้นใครที่กำลังกังวล ไปดูกันว่าแต่ละโรคนั้นมีอาการแบบไหนและต้องรักษา ป้องกันอย่างไร
1.อยู่ในที่เปียกชื้นต้องระวัง! โรคเชื้อราที่เท้า (Athlete’s Foot)
หรืออีกชื่อที่รู้จักกันดีว่า “ฮ่องกงฟุต, น้ำกัดเท้า” โรคนี้เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes หากใช้ของร่วมกันอาจติดต่อกันได้ โดยระยะแรกเมื่อเกิดระคายเคืองเท้าจะมีลักษณะเปื่อย แดงและลอก แน่นอนหากคุณเริ่มมีอาการคันไม่ควรเกาเพราะอาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อ ทำให้อาการแย่กว่าเดิมคือแสบร้อน เป็นหนองและเท้ามีกลิ่นเหม็น การป้องกันและรักษา : แน่นอนว่าโรคนี้เกิดจากการเปียกชื้นหรือแช่น้ำนาน ๆ ควรหลีกเลี่ยง แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้แนะนำว่าควรล้างเท้าและเช็ดให้แห้ง พร้อมกับโรยแป้ง
2.โรคฮิตในผู้หญิง เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
หรือในอีกชื่อที่เรียกกันโดยทั่วว่า “รองช้ำ” ใครที่ยืนนาน ๆ มีโอกาสเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะสาว ๆ เพราะไขมันส้นเท้าบาง เอ็น กล้ามเนื้อน่องและฝ่าเท้าไม่แข็งแรงเท่าผู้ชายนั้นเองและเมื่อมีอาการปวด ๆ หาย ๆ ให้เร่งรักษามิเช่นนั้นจะมีอาการปวดตลอดเวลา
การป้องกันและรักษา : เมื่อเดินบ่อยหรือยืนนานควรพักเท้าและประคบความเย็น 3-4 ครั้ง/วัน ที่สำคัญยอย่าลืมออกกำลังกายเพื่อบริหารเอ็นร้อยหวาย เพื่อลดอาการ โรคเกี่ยวกับเท้า ชนิดนี้
3.เสียบุคลิกหากพบว่าเป็น โรคเท้าเหม็น (Stinky Feet)
โรคนี้มีอีกหนึ่งชื่อที่เรียกกัน คือ โรคเท้าเหม็นเป็นรู ซึ่งคนที่จะเป็นโรคนี้ได้ใส่ถุงเท้าและรองเท้าเป็นเวลานาน เมื่อเท้าเริ่มมีเหงื่อออก กลิ่นเหม็นก็จะตามมา ทำให้แบคทีเรียรสะสม โดยสังเกตอาการได้จากการที่ฝ่าเท้าเป็นรูเล็ก ๆ หรือถลอกเป็นปื้นและมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันและรักษา : ควรใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดทาผิวหนัง 2-4 สัปดาห์และควรล้างเท้าที่ผสมยาฆ่าเชื้อ พร้อมเช็ดให้แห้ง
4.อย่าปล่อยให้เท้าเสียดสีบ่อย ๆ เพราะนั้นคือสาเหตุของ โรคตาปลา (Corns)
ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ “ตุ่มหนา แข็ง” โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นด้านข้างของนิ้วเท้าบนฝ่าเท้าและเกิดขึ้นได้ทุกจุด ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้คือการที่เท้าได้รับการเสียดสี โดย เท้าเป็นตุ่ม แข็งๆ เจ็บ เป็นขุย วงสีเหลืองรอบ ๆ ตรงกลางแข็งเป็นสีเทา
การป้องกันและรักษา : การป้องกันไม่ยากเพียงแค่คุณหลีกเลี่ยงพฤกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดหรือการเสียดสีและใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการรักษาโดยเฉพาะ
5.เจ็บ ปวด มีหนองอาการของ เล็บขบ
โรคเกี่ยวกับเท้า นี้เชื่อว่าหลายคนประสบกับตัวเองมาบ่อยมาก เพราะที่เล็บเท้ามักเกิดเล็บงอกหรือทิ่มเข้าผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า จึงเกิดการเจ็บปวด บวม แดง โดยมีเลือดและหนองร่วมด้วย
การป้องกันและรักษา : แช่เท้าในน้ำอุ่น 3-4 ครั้ง/วัน ครั้งละ 15-20 นาที ใช้ยาบรรเทาอาการปวด หากมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
8.ผิวไม่เรียบ แห้งสากอาหารของ โรคส้นเท้าแตก
เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ยิ่งใครที่ปล่อยให้เท้าแห้งบริเวณส้นเท้าจะมีลักษณะแห้ง แข็ง หยาบ แตก แม้ว่าอาจจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพมากนัก แต่ก็ทำให้หลายคนขาดความมั่นใจเมื่อต้องสวมรองเท้าแตะหรือถอดออก
การป้องกันและรักษา : รักษาง่าย ๆ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง แต่หากมีอาการแดงเจ็บควรไปพบแพทย์
จาก 8 โรคเกี่ยวกับเท้า ที่เรานำมายกตัวอย่าง เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มสังเกตตัวเองแล้วว่ามีอาการเช่นนี้หรือไม่ หากมีควรเร่งรักษาและหากมีอาการรุนแรงควรไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน