รู้ทันโรครองช้ำ รู้เร็ว รักษาทัน ไม่ต้องปวดทรมานกันนาน ๆ
หากใครเคยมีอาการเจ็บจี๊ดที่ฝ่าเท้าคล้าย ๆ ถูกเข็มเล็ก ๆ จำนวนมากทิ่งแทง ทุกครั้งที่ก้าวเดินลงน้ำหนัก หรือไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน ก็เจ็บไปหมดทุกท่วงหน้า อาจจะเริ่มเฉลียวใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับเท้าของเรา แน่นอนว่านั่นอาจจะเป็นความผิดปกติหรือสัญญาณเตือนให้นึกถึง “โรครองช้ำ” ก็ได้ ไม่มีใครอยากที่จะเป็น แต่ถ้าหากเป็นแล้ว รักษาได้ทันก็ต้องดีกว่าใช่ไหมคะ เราจะมารู้จักและรู้ทันโรครองช้ำไปพร้อมกัน
มารู้จักโรครองช้ำกันเถอะ
โรครองช้ำ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นโรคที่เกิดการอักเสบบริเวณพังผืดหรือเนื้อเยื่อใต้ฝ่าเท้า เกาะยาวจากส้นเท้ากระจายไปยึดที่นิ้วเท้าทั้ง 5 ทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกบริเวณฝ่าเท้า รองรับอุ้งเท้าแนวยาวเพื่อให้คงรูปเท้าให้เหมาะสมในช่วงจังหวะการเดินนั่นเอง
โรครองช้ำพบได้บ่อยในกลุ่มคนประเภทใดบ้าง
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมที่มักยืนหรือเดินนาน ๆ
- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีไขมันที่ส้นเท้าบางกว่า เอ็นและกล้ามเนื้อน่อง รวมถึงฝ่าเท้าไม่แข็งแรงเท่าผู้ชาย
- นักวิ่ง เพราะเป็นกีฬาที่ใช้เท้าและส้นเท้าเป็นเวลานานซ้ำ ๆ
- คนที่มีน้ำหนักตัวมาก เมื่อเรามีน้ำหนักตัวที่มาก ก็จะส่งผลให้เอ็นฝ่าเท้าต้องรับน้ำหนักมากตามไปด้วย
สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรครองช้ำ
การเกิดโรครองช้ำส่วนมากมักมาจากการที่พังผืดใต้ฝ่าเท้าเริ่มเสื่อมสภาพ หรือได้รับความเสียหายจากแรงกระแทกซ้ำ ๆ จนเกิดการสะสมแล้วอักเสบขึ้นมานั่นเอง แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวยังมีนอกเหนือจากนี้ ได้แก่
- น้ำหนักตัวเกิน หรือการที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ๆ เช่น ผู้ที่ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ และยิ่งหากมีน้ำหนักตัวที่มาก แรงกดกระแทกลงไปที่เท้าย่อมมีมากตามไปด้วย
- การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองใต้ฝ่าเท้า
- การออกกำลังกายบางชนิดที่ต้องกระแทกลงเท้าตลอดเวลา เช่น วิ่ง แบตมินตัน นอกจากนี้ยังรวมถึงลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ยกตัวอย่าง นักวิ่งที่ตอนแรกวิ่งตามปกติ แล้วจึงเพิ่มระยะทางการวิ่งขึ้น หรือการวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างออกไป
- โครงสร้างทางร่างกาย เช่น อุ้งเท้าที่แบนหรือโก่งกว่าปกติ ภาวะเอ็นร้อยหวายตึง โรคประจำตัวบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น โรคข้อสันหลังอักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งจะสามารถมีโอกาสเกิดการอักเสบบริเวณจุดเกาะเส้นเอ็นกับกระดูกได้ง่ายกว่าคนปกติ
อาการของโรครองช้ำ
เพราะอาการที่เกิดขึ้น จึงนำมาซึ่งการไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค จนได้รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรครองช้ำ โดยอาการที่สามารถเกิดขึ้น ก็จะเจ็บและปวดบริเวณส้นเท้า และสามารถลามไปยังฝ่าเท้าได้ ซึ่งจะเจ็บจี๊ด ๆ หรือในบางคนจะมีอาการแสบร้อนที่ฝ่าเท้า โดยมากจะพบอาการเมื่อตื่นอนตอนเช้า และจังหวะลุกขึ้นเดิน หลังจากนั่งนาน ๆ โดยอาการจะทุเลาลงเมื่อเดินไปสักพัก โดยอาการจะกลับมาเป็นใหม่เมื่อการยืนหรือเดินนาน ๆ วนกันเป็นลูป
การรักษาโรครองช้ำ
หากใครที่หลวมตัวมาเป็นโรคนี้แล้ว ก็คงได้แต่ทำใจรักษากันไปนั่นแหละค่ะ ในรายที่มีอาการปวดเฉียบพลัน สามารถกินยาแก้ปวดหรือประคบเย็นที่ฝ่าเท้าใรบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ 10-15 นาที หรือ 3-4 ครั้ง/วัน แต่ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง ควรใช้การออกกำลังกายเพื่อกายภาพบริหารพังผืดใต้ฝ่าเท้าหรือเอ็นร้อยหวาย อีกทั้งสามารถใช่อุปกรณ์เพื่อพยุงส้นหรืออุ้งเท้าเอาไว้ เช่น แผ่นเสริมรองเท้าที่มีความอ่อนนุ่ม เพื่อยับยั้งไม่ให้โรคดำเนินไปจนรุนแรงขึ้น
แม้ว่าเราจะสามารถดูแลและรักษาโรครองช้ำได้ก็ตาม แต่การไม่มีโรคตั้งแต่แรก ก็ยังเป็นลาภอันประเสริฐมากกว่านะคะ
สอบถามรายละเอียดโปรโมชั่น
แอดLine@ ของ Talon ได้ที่นี่เลยค่ะ
👉 https://line.me/R/ti/p/%40ool5177g
foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800
เป็นรอบช้ำ คะ สนใจแผ่นรองเท้า