วิธีวัดเท้า เพื่อสั่งตัดรองเท้า
ในกรณีที่คุณลูกค้ามีรูปเท้าบวมหรือผิดปรกติ เนื่องจากอาการป่วย เช่น เบาหวาน โรคอ้วน , เกิดจากการตั้งครรภ์ , บวมน้ำ , หรืออาการผิดปรกติอื่นๆ
การวัดความอูมเราจะวัดด้วยกัน 2 ตำแหน่ง คือ ความอูมหน้าเท้า กับความอูมหลังเท้า
การวัดความยาวเท้า
- วางเท้าบนกระดาษ A4 สีขาว โดยให้ส้นเท้าและปลายกระดาษชิดกำแพง
- ใช้ไม้บรรทัดอีกอัน วางไว้ที่ปลายเท้าแล้วลากเส้นออกมาโดยดูจากตำแหน่ง เท้าที่ยาวที่สุด (บางท่านอาจดูที่จากตำแหน่งนิ้วโป้งเป็นจุดยาวที่สุด บางท่านตำแหน่งอาจอยู่ที่นิ้วชี้)
- ลากเส้นตรงให้แนวยาวและแนวขวางตัดกัน และเขียนระบุบความของเท้า หรือถ่ายรูปแล้วส่งมาตามตัวอย่างด้านล่าง
การวัดความอูมของเท้า
- นำสายวัด ด้านเซ็นติเมตร พันรอบหน้าเท้าโดยวางปลายสายวัดวนจบรอบเท้าในส่วนของหน้าเท้า ตามรูปด้านล่าง
(ตำเหน่งที่กว้างสุดของเท้าคือกระดูกข้อนิ้วโป้ง-ข้อนิ้วก้อย) - นำสายวัด ด้านเซ็นติเมตร พันรอบกลางเท้าโดยวางปลายสายวัดวนจบรอบเท้าในส่วนของหลังเท้า ตามรูปด้านล่างข้อควรระวัง : เวลาวัดอย่าผ่อนสายวัดหลวม หรือรัดแน่นจนเกินไป
การวัดความกว้างหน้าเท้า และส้นเท้า
- วางกระดาษ A4 สีขาว บนพื้นราบ แล้ววางเท้าลงไป
โดยให้ส้นเท้าและปลายกระดาษชิดกำแพง - เอาปากกาหรือดินสอปลายแหลมมาร์คจุด ตามตำแหน่งที่ระบุบไว้
- ลากเส้นตามรูปแล้ววัดเป็น เซนติเมตร
ข้อควรระวัง : ปากกาต้องเป็นปลายแหลม วางปลายปากกาให้แนบกับผิวเท้าโดย ไม่เหลือช่องว่าง เวลามาร์คจุด ปลายปากกาต้องไม่เบนไปข้างหน้า หรือหลบเข้าไปใต้เท้า
การวัดลักษณะนี้จะใช้กับผู้ที่มีปัญหาเท้าบวมและหน้าเท้ากว้างมาก จนเท้าไม่สามารถลงในพื้นแกลบได้