อาการปวดเท้า อาจก่อให้เกิดโรคได้มากกว่าที่คิด

อาการปวดเท้า อาจก่อให้เกิดโรคได้มากกว่าที่คิด

อาการปวดเท้า อาจก่อให้เกิดโรคได้มากกว่าที่คิด หากเริ่มมีอาการไม่ควรมองข้ามอาการต่างๆ ต้องเอาใจใส่และพบคุณหมอเกี่ยวกับเท้าเพื่อความมั่นใจ ว่าอาการปวดเท้าเกิดจากอะไร

อาการปวดเท้ามีหลายสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันไป อาการที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้:

  1. ปวดที่เท้า: อาจเป็นความเจ็บปวดทั่วไปหรือเจ็บปวดที่จุดเฉพาะ เช่น ปวดเท้าหน้า, ปวดเท้าด้านหลัง, หรือปวดเท้าด้านข้าง
  2. บวม: เท้าอาจบวมหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง: อาจพบว่ากล้ามเนื้อเท้าแข็งแรงน้อยลง หรือมีความยืดหยุ่นน้อยลง
  4. ตึงเครียดหรืออ่อนเพลีย: อาจรู้สึกตึงเครียดหรืออ่อนเพลียในกล้ามเนื้อเท้า
  5. ปวดขณะเดินหรือยืน: ความปวดอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเดินหรือยืนนาน ๆ
  6. อาการเสียว, เป็นลม, หรือชา: อาจมีอาการเสียว ปวดเป็นลม หรือชาเฉพาะจุดบ้าง
  7. ปัญหารูปร่างของเท้า: เช่น ฟุตหงิก, ฟุตเสี่ยว, หรือปัญหาจากโครงสร้างของเท้า

อาการปวดเท้าอาจเกิดจากการใส่รองเท้าไม่เหมาะสม, การเปลี่ยนกิจกรรมที่กระทำที่เท้า, ความอ้วน, อายุ, บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเท้า หรือโรคระบบกระดูกและข้อ เช่น โรคข้อเข่าอักเสบ, โรคข้อเท้าอักเสบ, หรือโรคกระดูกอ่อน

รวมถึงโรคเกี่ยวกับเท้ายอดฮิต ที่อาจเกิดจากอาการปวดเท้า มีดังนี้

1.) โรคข้อเท้าหลวม 

ถ้าข้อเท้าพลิกบ่อยๆ อาจส่งผลให้เสี่ยงโรคนี้ได้ อาการข้อเท้าพลิกหรือแพลง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกครั้งที่เราทำกิจกรรมต่างๆ พบมากในหมู่นักกีฬา หรือแม้แต่ผู้หญิงที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากพลิกธรรมดา โอกาสน้อยมากที่จะเกิดโรคข้อเท้าหลวม แต่ถ้าหากข้อเท้าพลิกบ่อยๆ และมีอาการเจ็บทั้งด้านนอกและด้านใน นั่นถือว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคนี้แล้ว

และหากยังละเลยไม่ดูแลรักษา อาจส่งผลให้กระดูกอ่อนในข้อเท้าบาดเจ็บโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าอักเสบ ที่อาจทำให้ข้อเท้าเสื่อมได้ในอนาคต

2.) โรคเอ็นร้อยหวายอักเสบ

มักจะเกิดกับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น บาสเกตบอล กระโดดสูง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่เอ็นร้อยหวายระหว่างการออกกำลังกาย และจะปวดมากขึ้นเมื่อหยุดออกกำลังกาย อีกทั้งเมื่อตรวจรองเท้าจะพบรอยสึกที่ผิดปกติ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ หยุดออกกำลังโดยทันที ช่วงที่ปวดใหม่ๆ ให้ประคบด้วยน้ำแข็งประมาณ 20 นาทีทุก 4 ชั่วโมง ใส่รองเท้าที่หนุนส้นให้สูงขึ้นเพื่อลดแรงกดดันที่เอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าพัน ให้ยกเท้าสูง อย่าใส่รองเท้าที่มีพื้นราบ และไม่ควรเดินเท้าเปล่า

3.) โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ โรครองช้ำ

เนื่องจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อง หรือการรับน้ำหนักเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดบริเวณส้นเท้าไปจนถึงฝ่าเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักนานๆ โรคนี้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ว่าตัว พบได้บ่อยกับผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานระหว่างวัน

นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ หรือสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เป็นต้น รวมถึงลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม ที่ทำให้เกิดโรคได้

ในการตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าจะทำให้เกิดอาการปวด หากไม่รักษาอาจจะมีผลกับข้อเท้า เข่า หรือหลัง เนื่องจากการเดินผิดปกติ

เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนัก ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น ประคบน้ำแข็ง ครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ และใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองรับการกระแทก ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นใน 2 – 3 เดือน

4.) โรคเท้าแบน

เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้จากพันธุกรรม และมาจากปัจจัยอื่นๆ ในภายหลัง เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ส่งผลให้เท้ามีลักษณะไม่มีส่วนโค้งเว้า และเมื่อยืนเท้าจะแนบสนิทไปกับพื้น

ส่งผลให้เวลาเดินรู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมใส่รองเท้าที่สบายและรองรับเท้าก็ตาม ขณะเดียวกันทำให้ทรงตัวบนเท้าลำบากด้วย วิธีการป้องกันรักษานั้น ไม่จำเป็นหากไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ถ้ามีอาการเจ็บปวดให้ใช้วิธีกายภาพบำบัด เช่น ใช้อุปกรณ์เสริมที่เท้า สวมรองเท้าที่รับกับเท้า ออกกำลังยืดเส้น หรือสั่งตัดรองเท้าสุขภาพ และถ้ารุนแรงมากๆ อาจต้องผ่าตัดโดยรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

5.) โรคเก๊าท์
เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้นจากการสะสมกรดยูริกในเลือกสูง ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบริเวณข้อเท้า หรือโคนนิ้วหัวแม่เท้า แรกๆ อาจปวดแล้วหายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น เป็นถี่ขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังไม่มีช่วงหายสนิท

สำหรับวิธีการรักษานั้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉันที่ถูกต้อง ซึ่งแพทย์อาจให้ยาแก้อักเสบเฉียบพลันมาทาน กรณีกรดยูริกสูงมาก เมื่อรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันจนทุเลาลงแล้ว จึงจะให้ยาลดกรดยูริกมาทานต่อ และต้องงดเว้นอาหารที่มีกรดยูริกสูง

6.) โรคปมประสาทนิ้วเท้าอักเสบ 
มักเกิดจากการสวมรองเท้าคับหรือบีบหน้าเท้า ทำให้เกิดความเจ็บปวด มักเกิดบริเวณระหว่างนิ้วกลางและนิ้วนาง ผู้ที่มีอาการของโรคนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อดูแลไม่ให้อาการปวดรุนแรงขึ้นกว่าเดิม และลดความเสี่ยงที่เส้นประสาทในบริเวณปลายเท้าจะได้รับความเสียหายในระยะยาว

เมื่อมีอาการปวด ควรหยุดพักการใช้เท้าจนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น และใช้แผ่นรองเท้าเพื่อลดการกดทับบริเวณเส้นประสาทและต้องเลือกใส่รองเท้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง รวมถึงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้เท้ามากอย่างการวิ่งหรือการออกกำลังกาย และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจประคบน้ำแข็งบริเวณที่ปวด หรือรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง

อาการปวดเท้ามีความหลากหลายซ่อนอยู่ บางอาการอาจเป็นเพียงปวดเมื่อยธรรมดา หรือเป็นอาการบาดเจ็บชั่วคราวของกล้ามเนื้อ แต่บางอาการก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษา เมื่อคุณเกิดอาการปวดอย่าละเลยที่จะสังเกตอาการเบื้องต้นกันและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


“นึกถึงสุขภาพ้ท้า นึกถึง TALON”  นะคะ
หากคุณไม่เคยตรวจสุขภาพเท้า แนะนำให้ มาที่ ศูนย์สุขภาพเท้า พระราม 2 สอบถาม และนัดตรวจ กับหมอเฉพาะทางเท้า ซึ่งมีเพียง 2 คนในไทย โทร 028963800 หรือ add Line:@talon หรือคลิก https://lin.ee/xIQUSV3