วิธีเลือกรองเท้าสุขภาพ ให้เหมาะกับลักษณะเท้า
#สวัสดีเช้าวันเสาร์ ครับ
#ตื่นแต่เช้ามา
จะพยายามเลือกใส่รองเท้ายังไงก็ไม่พอดี เจ็บปวดตรงนิ้วโป้งมากๆ
ลองมองเท้าตัวเองดูครับ มีลักษณะ แบบนี้หรือไม่
นิ้วโป้งเท้า โก่งเก
ลักษณะของเท้า
#สาเหตุ มีได้หลายปัจจัยมาก
1. แน่นอน พันธุกรรม
2. รองเท้าไม่เหมาะสม หน้าเท้าบีบรัดเกินไป
3. กระดูกนิ้วโป่งค่อนข้างยืดหยุ่นง่าย
4. กระดูกเท้าส่วนต้นยาวกว่าปกติ
5. กล้ามเนื้อมัดเล็กอ่อนแรง
6. เท้าบิดออกมากเกินไป ( foot pronation)
7. และสุดท้ายแน่นอน เพศหญิง มีโอกาสเป็นได้มากกว่า ผู้ชาย
8. สาเหตุจากโรคอื่นๆอีกมาก เช่น เก๊าท์ , Marfan syndrome
#ในการประเมินรูปเท้า หมอจะตรวจเป็น การสังเกตุและประเมินความรุนแรง มากกว่า
ซึ่งจะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1 ไม่มีเท้าผิดรูป( A)
ระดับที่2 เห็นปรากฏนิ้วโป้งโก่งเล็กน้อย(B)
ระดับที่3 นิ้วโก่งมากเบียดนิ้วอื่นๆ (C)
ระดับที่4 มีลักษณะโก่งมาก มีรูปเท้าเปลี่ยนไปมาก มีการเกยกันของนิ้วเท้าบางนิ้ว (D)
#การเกิดพยาธิสภาพทางชีวกลศาสตร์
ในกรณีถ้าเท้า บิดออกมากเกินไป และ นิ้วโป่งค่อนข้างจะยืดหยุ่น รวมทั้งกระดูกนิ้วโป้ง ที่เรียกว่า 1st metatarsal ยาว ทำให้เพิ่มมุม ที่จะได้รับแรงกระแทกจากพื้น ในขณะที่เราเดินและส่วนของเท้าเหยียบลงพื้น
#จึงทำให้
#แรงทีพื้นก็จะกระทำต่อ กระดูกนิ้วโป่งส่วนนี้ ตลอดเวลา ทำให้
#เกิดการอักเสบ ของถุงน้ำได้ และมี
#อาการปวดเกิดขึ้น เนื่องมีการบิดเข้า( adduction) ของกระดูกmetatarsal มากเกินไป
#นอกจากนี้ #กล้ามเนื้อด้าน lateral side (ด้านนอก) ของนิ้วโป่ง อ่อนแรง( adductor hallucis muscle laxity) ทำให้ดึงกระดูกส่วน metatarsal บิด เข้าไปมาก เนื่องจากไม่มีแรงพยุง กระดูกไว้ และ ปุ่มกระดูกเล็กๆที่นิ้วโป้ง (sesamoid) ก็ถูกแรงจึงทำให้กร่อนและเปลี่ยนมุมองศาไป
#ในทางตรงกันข้าม #กล้ามเนื้ออีกด้านหนึ่ง medial side (ด้านใน) ของนิ้วโป้ง ( abductor hallucis muscle) ที่ยึดไว้ก็จะcompensate ( ออกแรงชดเชย) ดึง กระดูกส่วนปลายนิ้วโป่งออก ( abduction ) เพื่อคอยพยุงกระดูกที่บิดเข้า จึงทำให้กระดูกส่วนปลายนิ้วโป่งถูกแรง ให้บิดออก และเฉเอียง เบี่ยงเบนออกไป
เกิดเป็นรูปเท้าลักษณะดังภาพ
#วิธีการรักษา แบบ conservative (ประคับประคองบรรเทาอาการ) ที่ไม่ใช่การผ่าตัด
จะช่วยลดอาการปวด ลดแรงกระแทก ป้องกันไม่ให้เกิด เท้าผิดรูป ไปมากกว่านี้
การดูแลรักษาเท้า
#มีหลายวิธี
1 ตั้งแต่ ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2 ปรับโครงสร้างเท้า ผ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยใช้อุปกรณ์พยุงเท้า ที่รัดนิ้วโป้งเท้าไว้ bunion splints หรือ toe spacer หรือ tubefoam support
3 การทำ orthosis แบบเฉพาะ รูปเท้าแบบนี้
4 กินยาลดปวด
5 ฉีดสเตียรอยด์
เด่วมีเวลาครั้งหน้า หมอจะมาพูดถึงการผ่าตัดสำหรับ นิ้วโป้งเท้าเอียง ว่ามีเทคนิคไหนบ้าง นะครับ
ผู้เขียน คุณหมอสิทธิพงษ์ มีภักดี
Foot specialist จบการศึกษาเรื่องกายภาพเท้าจากประเทศ ออสเตรเลีย
ประกาศนียบัตร
GradCertFIB.Med, GradCertClinical Pod, Adv med sci, Doc Pod med
อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลไทย สำนักงาน กพ
สอบถามรายละเอียดโปรโมชั่น
แอดLine@ ของ Talon ได้ที่นี่เลยค่ะ
👉 https://line.me/R/ti/p/%40ool5177g
คลินิกตรวจสุขภาพเท้า โดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงงาน ใกล้ Central พระราม 2 หรือช็อบบน ICON SIAM ในห้าง Siam Takashimaya ชั้น 2 แผนกรองเท้าสุขภาพ
foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800