หาคำตอบ ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ

หาคำตอบ-ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ

หาคำตอบ ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ

เขาว่ากันว่าเท้าเป็นจุดศูนย์รวมประสาทของร่างกาย เมื่อเท้าต้องแบกรับภาระนาน ๆ ก็สามารถส่งผลกับร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้ ซึ่งคนทั่วไปมักจะละเลยกับการดูแลเท้า แต่ก็มีบางอาชีพเหมือนกันค่ะ ที่ต้องที่เท้าถูกใช้งานอย่างหนักหน่วง อย่างอาชีพครู เราจะมาหาคำตอบกันว่า ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่น ๆ ใครเป็นครู ต้องห้ามพลาดบทความนี้เลยค่ะ

ลักษณะการทำงานของอาชีพครู

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ครู เป็นอาชีพที่ต้องยืนสอนหนังสือเป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งเท่ากับว่าเท้าของคนที่เป็นครูจะต้องแบกรับน้ำหนักร่างกายเป็นเวลานาน ยิ่งหากใครเป็นครูสายที่ไม่นั่งเลย เคยกันไหมล่ะคะ พอหมดคาบแล้วจะรู้สึกตึงและปวดที่น่องบ้าง เข่าบ้าง เอวบ้าง หรือแม้แต่ที่เท้า ซึ่งหากยังไม่ดูแลตั้งแต่ต้น อาจจะส่งผลเสียในระยะยาว ซึ่งสามารถลุกลามเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้อีกด้วย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ว่าทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่น ๆ

อาชีพครูกับการยืนเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

เมื่อเรารู้แล้วว่าทำไมอาชีพครูถึงต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่น สิ่งที่เราจะต้องรู้อีกอย่างคือ ผลเสียต่อร่างกายที่จะเกิดขึ้นตามมามีดังนี้

  • ปวดเมื่อยบริเวณน่องและต้นขา เพราะเวลาที่เรายืน กล้ามเนื้อน่องจะต้องแบกรับร่างกายทั้งตัวเอาไว้ อีกทั้งน่องยังเป็นจุดที่เกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่ายกว่าส่วนอื่น มาจากการที่บริเวณกล้ามเนื้อน่องจะมีเลือดมาเลี้ยงน้อย การไหลกลับของหลอดเลือดดำต้องอาศัยการหดตัวแบบเป็นจังหวะ เมื่อมีการหดเกร็งมาก ของเสียก็จะคั่งค้างมาก จนเกิดอาการเมื่อย
  • ปวดเมื่อยเท้า หลายคนจะต้องเคยเมื่อยเท้าจนแทบไม่อยากจะยืนหรือเดิน นั้นเพราะกล้ามเนื้ออุ้งเท้าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงทำให้ล้าได้ง่ายกว่ากล้ามเนื้อมัดอื่น อาการปวดเมื่อยของเท้า อาจมาจากสาเหตุที่เนื้อเยื่อบริเวณฝ่าเท้าถูกน้ำหนักตัวกดทับอยู่นาน โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยคือ รองช้ำ หรือฝ่าเท้าอักเสบ
  • เส้นเลือดขอด เป็นอะไรที่สาว ๆ กลัวกันมาก เพราะไม่ใช่แค่เพียงอาการปวด แต่ยังทำให้ขาดูไม่สวยงามอีกด้วย มาจากการกดทับของหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณต้นขา กรณีเป็นน้อยๆ อาจมองเห็นคล้ายใยแมงมุม เมื่อเป็นมากขึ้นจะเห็นหลอดเลือดโป่งชัดเจน
  • ปวดเข่าและหลัง อาการที่พบได้บ่อย การยืนปกติทำให้เกิดแรงกดที่หัวเข่า เพราะน้ำหนักตัวจะผ่านลงไปที่เข่า และขณะยืนกล้ามเนื้อหน้าขาและด้านหลังขา จะต้องทำงานประสานกันเพื่อมิให้เข่าพับลงกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง และไม่ให้ตัวล้มไปข้างหน้า ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย

การดูแลรักษาเท้าสำหรับอาชีพครู

เมื่อเราตอบคำถามได้แล้วว่า ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่น ๆ เราจะมาดูการดูแลเท้าสำหรับคุณครู หรือผู้ที่ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ กัน

  1. ลดการใส่รองเท้าส้นสูง

คุณครูผู้หญิงหลายคนก็ชอบรองเท้าส้นสูง แต่รู้หรือไม่ว่า  การใส่รองเท้าส้นสูงก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ตั้งแต่การเจ็บหน้าเท้า น่องตึง หรือแม้แต่ปวดหลังก็เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงนานๆ และทุกวันได้ ดังนั้นจึงควรหารองเท้าที่ใส่สบาย ๆ เอาไว้สำรอง เพื่อให้เท้าได้พักบ้าง

  1. ใช้อุปกรณ์เสริมรองเท้า

เดี๋ยวนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมรองเท้าเพื่แก้ปัญหาเท้าในรูปแบบต่าง ๆ และยังลดความเมื่อยล้า เจ็บปวดจากการต้องยืนสอนนาน ๆ ได้ด้วยค่ะ

  1. แช่น้ำอุ่น

มื่อกลับถึงบ้านแล้ว ควรพักเท้าด้วยการแช่น้ำอุ่น จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้ง และอย่าลืมที่จะทาครีมบำรุงเพื่อป้องกันผิวที่เท้าแห้งด้วยนะคะ

  1. บริหารเท้าก่อนนอน

ก่อนนอนลองยืดกล้ามเนื้อดูค่ะ การใส่รองเท้าส้นสูงก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ตั้งแต่การเจ็บหน้าเท้า น่องตึง หรือแม้แต่ปวดหลังก็เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงนาน ๆ และทุกวันได้ เท่านี้ก็หลับสบายแล้ว

หาคำตอบกันได้แล้วนะคะว่า ทำไมอาชีพครูต้องดูแลเท้ามากกว่าอาชีพอื่น ๆ ใครที่เป็นคุณครูก็ลองนำวิธีข้างต้นไปบรรเทาอาการเมื่อยล้ากันได้

“สุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่เท้า”
คลินิกตรวจสุขภาพเท้า โดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงงาน ใกล้ Central พระราม 2 หรือช็อบบน ICON SIAM ในห้าง Siam Takashimaya ชั้น 2 แผนกรองเท้าสุขภาพ หรือสามารถสั่งตัดรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุได้ที่ https://shop.line.me/@talon/
foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800