รองเท้าสุขภาพ สำคัญกับผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดิน ยืน นาน ๆ อย่างไร
รองเท้าเพื่อสุขภาพ เป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาสุขภาพเท้าสำหรับผู้ที่ต้องยืน เดิน นานๆ เช่น อาชีพครู อาจารย์ พยาบาล พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับตามโรงแรม ร้านอาหาร ไกด์นำเที่ยว ฯลฯ ซึ่งอาชีพเหล่านี้มักก่อให้เกิดอาการปวดทั้งบริเวณหลัง เอว หน้าขา สะโพก น่อง หรือที่เท้าเป็นประจำ หากทิ้งไว้นานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเท้า หลัง ขา เข่า ข้อต่อ คอ และอาจลุกลามไปถึงระบบประสาทในระยะยาว
การยืนนาน ๆ เดินนาน ๆ มีผลเสียอย่างไร
- ปวดเมื่อยบริเวณน่องและต้นขา ขณะยืนกล้ามเนื้อน่องแบกรับน้ำหนักตัวทั้งตัว ปกติแล้วกล้ามเนื้อน่องมีความแข็งแรงมาก เราสามารถยืนขาเดียว หรือเขย่งส้นเท้ายกตัวขึ้นลงได้ แต่กล้ามเนื้อ น่องมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือเป็นกล้ามเนื้อที่ล้าและปวดเมื่อยได้ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อน่องมีเลือดมาเลี้ยงน้อย และการไหลกลับของหลอดเลือดดำต้องอาศัยการหดตัวแบบเป็นจังหวะ ถ้าต้องทำงานแบบยืนอยู่นิ่ง กล้ามเนื้อน่องต้องเกร็งตัวตลอดเวลา จะทำให้มีของเสียคั่งค้างมาก เกิดอาการปวดเมื่อยได้
- อาการปวดเมื่อยเท้า เท้าของเราประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็ก ๆ 26 ชิ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่ในอุ้งเท้าเราจึงต้องทำงานหนัก เพื่อให้เท้าเกาะติดกับพื้นหรือพื้นรองเท้า ถ้ากล้ามเนื้อเท้าต้องทำงานแบบคงค้างอยู่นานๆ จากการยืนนาน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า เนื่องจากการไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อไม่ดี มีของเสียคั่งค้างมาก ประกอบกับกล้ามเนื้ออุ้งเท้าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงทำให้ล้าได้ง่ายกว่ากล้ามเนื้อมัดอื่น อาการปวดเมื่อยของเท้า อาจมาจากสาเหตุที่เนื้อเยื่อบริเวณฝ่าเท้าถูกน้ำหนักตัวกดทับอยู่นาน โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ตั้งแต่ผิวหนังบริเวณส้นเท้า ชั้นไขมัน และเยื่อรองฝ่าเท้า อาการปวดที่พบได้บ่อยคือ ฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ มักพบในอาชีพที่ต้องยืนนาน เช่น พนักงานขายของ ครู พยาบาล หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน อาการรองช้ำที่พบได้บ่อยคือ จะเจ็บมากขณะเท้าเหยียบพื้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า หลังจากก้าวได้ 2-3 ก้าวอาการจะลดลง
- หลอดเลือดขอด พบได้บ่อยในอาชีพที่ต้องยืนทำงานนาน สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดหลอดเลือดขอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสริมให้เกิดหลอดเลือดขอดคือการยืนนาน และการกดทับของหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณต้นขา กรณีเป็นน้อยๆ อาจมองเห็นคล้ายใยแมงมุม เมื่อเป็นมากขึ้นจะเห็นหลอดเลือดโป่งชัดเจน หลอดเลือดขอดถ้าเป็นน้อยอาจดูไม่สวยงาม มีอาการปวดน่องและอาจเป็นตะคริวได้ในเวลากลางคืน แต่กรณีที่เป็นมากจะทำให้สีของผิวบริเวณนั้นเปลี่ยนไป ผิวหนังเป็นมันและตึง และอาจมีอาการบวมของเท้าได้ง่าย ถ้าเป็นแผลบริเวณนั้นจะรักษาหายยาก
- ปวดเข่าและหลัง การยืนปกติทำให้เกิดแรงกดที่หัวเข่า เพราะน้ำหนักตัวจะผ่านลงไปที่เข่า และขณะยืนกล้ามเนื้อหน้าขาและด้านหลังขา (ใต้ขาอ่อน) จะต้องทำงานประสานกันเพื่อมิให้เข่าพับลงกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง และมิให้ตัวล้มไปข้างหน้า การยืนนานจะทำให้กล้ามเนื้อทั้ง 2 กลุ่มเกิดอาการเมื่อยล้าได้
การใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้กล้ามเนื้อน่องทำงาน มากขึ้น เนื่องจากรองเท้าส้นสูงมีผลให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายตกไปทางด้านหน้ามากขึ้น กล้ามเนื้อน่องที่อยู่ทางด้านหลังต้องคอยดึงร่างกายไม่ให้ล้มไปข้างหน้า ดังนั้น การใส่ส้นสูงร่วมกับการยืนนานมีผลทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่องได้ง่ายยิ่งขึ้น
และยังมีผลกระทบต่อข้อเข่าและหลังได้ นอกจากกล้ามเนื้อน่องแล้ว กล้ามเนื้อต้นขาก็อาจมีอาการปวดเมื่อยได้เช่นเดียวกัน หน้าที่หลักของกล้ามเนื้อนี้คือการพยุงหัวเข่าไม่ให้พับลงในขณะยืน ขณะยืนนานกล้ามเนื้อต้นขาต้องเกร็งตัวตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการล้าสะสมของกล้ามเนื้อ และเกิดอาการปวดที่ต้นขาได้
รองเท้าสุขภาพ แตกต่างจากรองเท้าธรรมดาอย่างไร?
หลายคนมีคำถามว่า แค่หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูง เปลี่ยนมาใส่รองเท้าคัทชู หรือ รองเท้าผ้าใบ แค่นี้ไม่เพียงพอหรือที่จะดูแลสุขภาพเท้า คำตอบคือ นังไม่เพียงพอค่ะ รองเท้าแต่ละประเภทถูกออกแบบมาให้ใช้แตกต่างวัตถุประสงค์กันไป อย่างรองเท้าผ้าใบมักถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการเล่นกีฬา จึงรับแรงกด แรงกระแทกได้ดี แต่ก็ไม่เหมาะกับการใช้ทำงาน เพราะรูปแบบที่ไม่เหมาะสม และ ไม่ได้แก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าเลย หรืออย่างรองเท้าคัทชูที่เหมาะกับใส่ทำงานแพราะมีรูปแบบที่สุภาพเรียบร้อย รับน้ำหนักได้เล็กน้อย แต่ก็ไม่มีคุณสมบัติด้านการรักษาสุขภาพเท้าเช่นกัน
รองเท้าสุขภาพ คือ รองเท้าที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้า เช่น เท้าแบน อุ้งเท้าสูง กระดูกโปน นิ้วเท้าปีน รวมถึงรักษาอาหารที่เกิดจากโรคเท้า อาทิ ปวดส้นเท้า ปวดรองช้ำ ปวดอุ้งเท้า ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง ปวดหลัง เป็นต้น เป็นรองเท้าที่สวมใส่สบายเท้า สามารถใส่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัว ไม่ว่าจะเดิน ยืน หรือ วิ่ง TALON รองเท้าสุขภาพ รองเท้าพยาบาล รองเท้าสำหรับผู้ที่มีอาชีพยืน เดิน นาน ๆ
รองเท้าสุขภาพ ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร?
ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ราคาก็แตกต่างกันไปตามวัสดุและคุณภาพของรองเท้านั้นๆ ซึ่งผู้ใช้ควรพิจารณาจากคุณภาพของวัสดุและความเหมาะสมกับสุขภาพเท้าของตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งจากคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รองเท้าสุขภาพ ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ต้องมีน้ำหนักเบา เพื่อไม่ให้บริเวณเท้าและขารับน้ำหนักมากจนเกินไป เพราะกิจกรรมที่ต้องยืน เดิน นาน ๆ ก็สร้างแรงกดทับบริเวณเท้ามากพอแล้ว หากต้องมารับน้ำหนักจากรองเท้าอีก อาการอาจเป็นมากขึ้น
- พื้นรองเท้าควรมีความหนาที่พอเหมาะ เพื่อให้รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการยืน เดิน วิ่ง นานๆ ได้ดี
- พื้นรองเท้าต้องไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป รองเท้าที่พื้นนุ่มนิ่มเกินไปก็จะไม่ค่อยช่วยในการทรงตัว ทำให้ต้องเกร็งเท้าจนเมื่อย การสังเกตว่านุ่มกำลังดีหรือไม่ ให้ดูที่เวลาใส่แล้วพื้นยวบแบนลงไปแต่คงรูปอยู่ได้ สามารถคืนตัวกลับขึ้นมาแม้จะรองรับน้ำหนักตัวเรามาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม ส่วนพื้นรองเท้าที่แข็งกระด้างเกินไปก็ไม่ดี เพราะทำให้เจ็บฝ่าเท้า พื้นรองเท้าที่มีความหนาที่พอเหมาะจะช่วยรองรับแรงกระแทก (shock absorption) และลดแรงสะเทือนที่สะท้อนกลับขึ้นมาตามแนวกระดูกสันหลังได้ดี
- ต้องไม่คับหรือหลวมเกินไป รองเท้าสุขภาพที่ดี ต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้สวมสบาย และให้นิ้วเท้าเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ ไม่ถูกบีบรัดจนเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหากระดูกโปนนิ้วเท้าปีน ขณะเดียวกันก็ต้องไม่หลวมเกินไปเพราะอาจเกิดการเสียดสีจนเป็นแผลหรือตาปลา ที่สำคัญอาจเกิดอุบัติเหตุเท้าพลิก สะดุด หกล้ม เป็นอันตรายขณะทำงานได้
- ต้องออกแบบมาให้ซัพพอร์ตอุ้งเท้า ที่ช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไปทั่วฝ่าเท้า ปกติคนเราขณะยืน เดิน น้ำหนักจะมารวมศูนย์อยู่บริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า ถ้ายืนเดินนานๆ จะเกิดอาการปวดที่เรียกว่าปวดรองช้ำ รองเท้าสุขภาพ ที่ดีจะช่วยลดอาการปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปวดส้นเท้า หรือ รองช้ำได้ดีมาก อีกทั้งยังช่วยค้ำอุ้งเท้าป้องกันไม่ให้เท้าบิดเข้าด้านใน อันเป็นภาวะที่จะทำให้แนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว และนำมาซึ่งอาการปวดข้อต่าง ๆ เช่น ปวดข้อเข่า และ ปวดหลังส่วนเอว
- ต้องออกแบบมาให้มีส่วนโค้งเพื่อรับสรีระเท้าและจังหวะ
การเดินได้อย่างถูกต้อง ทำให้บรรเทาอาการเกร็ง เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อน่องหรือขา ทั้งยังกระจายน้ำหนักได้อย่ างสมดุล - พื้นรองเท้าด้านนอกที่สัมผัสกับพื้นควรทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น หรือออกแบบมาให้มีปุ่มกันลื่น นอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยเรื่องสุขภาพเท้าขณะเดิน ทำให้ไม่ต้องเกร็งเท้าเพื่อยั้งตัวจนเมื่อยหรือปวดเท้า
- ควรระบายอาการได้ดี เพื่อป้องกันการอับชื้น ที่ก่อให้เกิดเชื้อรา ผดผื่นคัน หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์
ในปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งอย่างที่คนทำงานทั่วไปใช้พิจารณาเลือกซื้อนั่นคือ รูปแบบที่ทันสมัย เหมาะสมกับผู้สวมใส่ และเหมาะกับงานที่ทำอยู่ด้วย
ท่านสามารถเลือกดูแบบ รองเท้าสุขภาพ TALON ได้
นอกจากการเลือกใช้รองเท้าแล้ว ผู้ที่มีอาชีพต้องยืนนาน ๆ เดินนาน ๆ ยังมีวิธีปฏิบัติตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพเท้า เช่น
- การยืนบนพื้นนิ่ม พื้นที่นิ่มลดแรงกดที่เท้าได้ อาจใช้พรมเช็ดเท้านิ่มๆ ไม่จำเป็นต้องไปซื้อพรมสำหรับยืนที่มีราคาแพง สามารถทดสอบพรมได้ด้วยการถอดรองเท้ายืนบนพรมนั้น หลังจากนั้นลองยืนเท้าเดียว ถ้ารู้สึกว่าสบายเท้าและยืนได้มั่นคงถือว่าใช้ได้
- พักการยืนบ่อยๆ หย่อนขาข้างหนึ่ง หรืออาจใช้ที่วางเท้าเป็นบล็อกสูงจากพื้นประมาณ 4-6 นิ้ว
- เมื่อรู้สึกเมื่อย ให้เดินไปมาสัก 2-3 นาที จึงค่อยนั่งลง ยกขาทั้ง 2 ข้างพาดบนที่นั่งของเก้าอี้อีก ตัวหนึ่ง ให้เท้าอยู่สูงประมาณระดับเข่า เพื่อช่วยเลือดจากขากลับเข้าสู่หัวใจดีขึ้น ป้องกันหลอดเลือดขอด มีโอกาสพักอย่ายืนคุยให้นั่งยกขาพาดเก้าอี้ อาจจะกระดก ปลายเท้าสลับกันซ้าย-ขวาร่วมด้วย
- หมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
สอบถามรายละเอียดโปรโมชั่น
แอดLine@ ของ Talon ได้ที่นี่เลยค่ะ
👉 https://line.me/R/ti/p/%40ool5177g
foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800